วันเสาร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2552

ไปสังเกตุการที่เกษมพิษยา

ในการที่หนูได้ไปสังเกตุการที่โรงเรียนเกษมพิทยาระยะเวลา 2 สัปดาห์ เมื่อเด็กๆเข้าแถวเสร็จแล้วก็จะมีกิจกรรมเกี่ยวกับคณิตศาตร์คือการที่ให้เด็กได้บริหารร่างกายโดยที่ครูจะเปิดเพลงเกี่ยวกับคณิตศาสต์เพลงที่ใช้เปิดทุกวันให้เด็กออกกำลังกายคือ
เพลง เลขาคณิตตบมือ
ตบมือ ส่ายสะโพกโบกมือไปมา
ตบมือ ตบมือ เดินเป็นรูปสี่เหลื่ยม
เดินหน้า ถอยหลัง ส่ายสะโพกโบกมือไปมา
เดินหน้า ถอยหลัง เดินเป็นรูปวงกลม
หลังจากเข้าแถวเสร็จเข้าเรียนแล้วก็กลับขึ้นห้องเรียนหลังจากนั้น
ก็ให้เด็กบอกวันที่และให้เด็กออกมาหยิบตัวเลขไปติดตามวัน และสี ของวันแต่ละวัน
และคุณครูก็จะเช็กเด็กว่าวันนี้เด็กมากี่คน

วันพฤหัสบดีที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2552

ส่งแผนการสอน

แผนการสอน หน่วยแอปเปี้ล
(วันที่1)
กิจกรรม รู้เรื่องแอปเปิ้ลกันเถอะ
จุดประสงค์
เพื่อให้เด็กบอกชื่อ ลักษณะ สี รูปร่าง ขนาดของแอปเปิ้ลได้
สาระสำคัญ
เด็กได้เปรียบเทียบลักษณะ รูปร่าง ขนาดของแอปเปิ้ลเนื้อหาการเรียนรู้เรื่องชื่อ ลักษณะ สี รูปร่าง ขนาดของแอปเปิ้ล
กิจกรรม
ขั้นนำ
1. ครูนำปริศนาคำทายมาทายเด็กๆ ดังนี้- อะไรเอ่ย ผลไม้อะไรที่สโนไวท์ชอบทาน?
ขั้นสอน
2. ครูนำแอปเปิ้ลใส่ตระกร้า แล้วให้เด็กๆทายว่า อะไรอยู่ในตระกร้า
3. ครูเปิดผ้าคลุมออก แล้วให้เด็กนับแอปเปิ้ลในตะกร้า
4. ครูให้เด็กแยกสีแอปเปิ้ลและเปรียบเทียบจำนวนแอปเปิ้ล
5. ครูให้เด็กเปรียบเทียบขนาดของแอปเปิ้ล
6. ครูให้เด็กเรียงลำดับขนาดของแอปเปิ้ล
ขั้นสรุป
ครูและเด็กสนทนาและเปรียบเทียบลักษณะของแอปเปิ้ลสื่อแอปเปิ้ล
การประเมินผล
1. สังเกตการตอบคำถาม
2. สังเกตการร่วมกิจกรรม
(วันที่ 2 )
ชื่อกิจกรรม ส่วนประกอบของแอปเปิ้ล

จุดประสงค์
เพื่อให้เด็กรู้จักส่วนประกอบต่าง ๆ ของแอปเปิ้ล
สาระสำคัญ
เด็กรู้ส่วนประกอบต่างๆของแอปเปิ้ลเนื้อหาการเรียนรู้ส่วนต่างๆของแอปเปิ้ล เปลือก เนี้อ เมล็ด
กิจกรรม
ขั้นนำ
1. ครูและเด็กร่วมกันร้องเพลงและทำท่าประกอบเพลง แอปเปิ้ล มะละกอ กล้วย ส้ม
ขั้นสอน
2. ครูใช้คำถามถามเด็กดังนี้
- เด็กๆค่ะแอปเปิ้ลที่ครูนำมามีกี่สีค่ะ
- เด็กๆคิดว่าข้างในแอปเปิ้ลมีสีอะไรบ้างค่ะ
- เด็กๆคิดว่าข้างในแอปเปิ้ลมีอะไรบ้างค่ะ
- เด็กๆคิดว่าข้างในแอปเปิ้ลทั้งสองสีเหมือนหรือต่างกันอย่างไรค่ะ
- เด็กๆคิดว่าแอปเปิ้ลมีรสชาติอะไรบ้างค่ะ
- เด็กๆจะให้ครูผ่าแอปเปิ้ลกี่ครั้งค่ะ
- เด็กๆจะแบ่งแอปเปิ้ลเป็นกี่ชิ้นดีค่ะ
3. ครูให้เด็กทานแอปเปิ้ลโดยที่ครูแบ่งให้เด็ก
ขั้นสรุป
4. ครูและเด็กสนทนาเกี่ยวกับส่วนประกอบและรสชาติของแอปเปิ้ล
สื่อ
1. เครื่องเคาะจังหวะ
2. แอปเปิ้ล
3. เคียง
4. มีด
5. จาน
6. ช้อน ส้อม
การประเมินผล
1. สังเกตการตอบคำถาม
2. สังเกตการแสดงความคิดเห็น
(วันที่ 3)
กิจกรรม แอปเปิ้ลมาจากไหน

จุดประสงค์
1. ร่วมสนทนาและตอบคำถามกับครูได้
2. รู้จักที่มาของแอปเปิ้ลได้
3. รู้จัก จำนวนบวก ลบเลขอย่างง่ายได้สาระสำคัญเด็กรู้ที่มาของแอปเปิ้ลเนื้อหาการเจริญเติบโตและการแพร่พันธุ์ แอปเปิ้ลมีการแพร่พันธุ์โดยต้องอาศัยสิ่งต่างๆ พาไป ได้แก่ มนุษย์ ใช้วิธีการตอนกิ่ง เมล็ด จากตรงกลางของแอปเปิ้ลมีเมล็ดเอามาปลูก แมลง จากดอกแอปเปิ้ลต้องอาศัยผึ้งและแมลงในการช่วยผสมเกสรต้นแอปเปิ้ลเป็นพืชล้มลุก ต้นแอปเปิ้ลจะออกผลใน 3 – 4 ปี ต้นสูง 5 – 12 เมตร
กิจกรรม
ขั้นนำ
1. ครูให้เด็กท่องคำคล้องจอง “แม่ค้าแอปเปิ้ล”
ขั้นสอน
2. ครูสนทนากับเด็กเกี่ยวกับที่มาของแอปเปิ้ล โดยใช้คำถามดังนี้- เด็กๆเคยเห็นแอปเปิ้ลที่ไหนบ้างค่ะ- ถ้าเด็กๆไปตลาดเด็กๆอยากได้แอปเปิ้ลเด็กๆจะทำอย่างไรค่ะ- ถ้าเด็กมีเงิน 3 บาท แอปเปิ้ลลูกละ 5 บาท เด็กๆจะต้องเพิ่มเงินเท่าไรค่ะ
3. ครูนำภาพแอปเปิ้ลมาอธิบายให้เด็กฟัง
ขั้นสรุป
4. ครูและเด็กร่วมกันสรุปการเจริญเติบโตของแอปเปิ้ลและร่วมกันท่องคำคล้องจอง
5. ครูแลเด็กร่วมกันสรุปประโยชน์ของแอปเปิ้ล
สื่อ
1. คำคล้องจ้อง “แม่ค้าแอปเปิ้ล”
2. รูปภาพแอปเปิ้ล
การประเมินผล
1. สังเกตการตอบคำถาม
2. สังเกตการแสดงความคิดเห็น
คำคล้องจอง
แม่ค้าแอปเปิ้ล
แม่ค้า แม่ค้า แอปเปิ้ล ซื้อ หนึ่ง สอง สาม
ราคาเท่าไร ขอซื้ออีกที
สี่ ห้า หก เจ็ด แปด เก้า สิบ
แอปเปิ้ลกลิ้งตก รีบเก็บไว ไว
(วันที่ 4)
กิจกรรม น้ำแอปเปิ้ลปั่น

จุดประสงค์
1. ร่วมทำกิจกรรมกับครูและเพื่อน ๆ ได้
2. ร่วมสนทนากับครูและผู้อื่นได้
3. บอกรสชาติของน้ำแอปเปิ้ลปั่นได้สาระสำคัญแอปเปิ้ลคือผลไม้ชนิดหนึ่งที่สามารถนำมารับประทานได้แอปเปิ้ลนำมาทำประโยชน์ได้หลายอย่างเช่น เครื่องดื่ม และขนมเนื้อหาเด็กได้เรียนรู้การทำน้ำผลไม้ปั่นจากลูกแอปเปิ้ล
กิจกรรม
ขั้นนำ
1. ครูและเด็กร่วมกันท่องคำคล้องจองแอปเปิ้ล
ขั้นสอน
2. นำแอปเปิ้ลของจริงสนทนากับเด็ก
3. นำแอปเปิ้ลสีเขียวกับแอปเปิ้ล สีแดงมาสนทนากับเด็กโดยใช้คำถามดังนี้
- เด็กจะเลือกแอปเปิ้ลสีอะไรทำน้ำปั่นดีค่ะ
- ทำไมเอาสีนี้ค่ะ
- ให้ครูใส่แอปเปิ้ลกี่ชิ้นดีค่ะ
- น้ำเชื่อมกี่ช้อนดีค่ะ
- น้ำแข็งกี่แก้วดีค่ะ
- เกลือเท่าไรดีค่ะ
- จะกดเครื่องปั่นกี่ครั้งค่ะ
ขั้นสรุป
4. เด็กสามารถบอกปริมาณของส่วนประสมได้
5. เด็กสามารถบอกรสชาติของน้ำแอเปิ้ลได้
6. ครูและเด็กร่วมกันตั้งชื่อน้ำปั่น
สื่อ
1. เครื่องปั่นผลไม้
2. แอปเปิ้ล
3. มีด
4. เขียง
5. น้ำแข็ง
6. แก้วน้ำ
7. หลอด
8. น้ำหวาน
การประเมินผล
1. สังเกตการณ์เข้าร่วมกิจกรรม
2. สังเกตการณ์ตอบคำถาม
3. สังเกตการแสดงความคิดเห็น

ขอบข่ายทางคณิตศาสตร์

ขอบข่ายกิจกรรมแอปเปิ้ล
1. การนับ(counting)
- ให้เด็กนับจำนวนแอปเปิ้ล
- ให้เด็กนับราคาของแอปเปิ้ล
2. ตัวเลข(Numeration)
- ให้เด็กหยิบตัวเลขที่จะซื้อแอปเปิ้ล
3. จับคู่(Matching)
- ให้เด็กจับคู่สีของแอปเปิ้ล
- ให้เด็กจับคู่ขนาดของแอปเปิ้ล
- ให้เด็กจับคู่จำนวนของแอปเปิ้ล
4. การจัดประเภท(Classification)
- ให้เด็กแยกแอปเปิ้ลที่มีสีเดียวกัน
- ให้เด็กแยกขนาดของแอปเปิ้ล
- ให้เด็กแยกจำนวนของแอปเปิ้ล
5. การเปรียบเทียบ(Comparing)
- ให้เด็กเปรียบเทียบแอปเปิ้ลที่มีขนาดเล็ก - ใหญ่
6. การจัดลำดับ(Ordering)
- ให้เด็กเรียงลำดับรูปภาพขนาดของแอปเปิ้ลที่มีขนาดเล็กที่สุด ไปหาแอปเปิ้ลที่มีขนาดใหญ่ที่สุด
7. รูปทรงและเนื้อที่(Shape and Space)
8. การวัด(Measurement)
- ให้เด็กชั่งน้ำหนักแอปเปิ้ล โดยใช้สองมือเด็กในการประมาณค่าน้ำหนัก ของแอปปเปิ้ลแต่ละลูก
9. เซท(Set)
- ให้เด็กแยกแอปเปิ้ลสีแดงกับสีเขียว
10. เศษส่วน(Fraction)
- ให้เด็กแบ่งแอปเปิ้ล 1 ลูกเป็น 4 ชิ้นเท่าๆกัน
11. การทำตามแบบหรือลวดลาย (Patterning)
- ให้เด็กเลือกแอปเปิ้ลตามขนาดที่ครูกำหนด
- ให้เด็กเลือกแอปเปิ้ลตามสีที่ครูกำหนด
12. การอนุรักษ์(Conservation)
- ครูถามเด็กว่า แอปเปิ้ล 1 ลูก ที่นำมาบดละเอียด กับแอปเปิ้ล 1 ลูก ที่ไม่ได้บด มีปริมาณเท่ากันหรือไม่อย่างไร

วันพุธที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2552

---นิทานเรื่อง โป้งแปะ ----

เช้าวันหนึ่ง อากาศแจ่มใส หมีน้อยชวนเพื่อนๆไปเล่นโป้งแปะ
กระต่าย แมว หมูและหนูก็พากันไปเล่นโป้งแปะที่สวนหลังบ้านของหมีน้อย
หมีน้อยให้เพื่อนๆไปซ่อน แล้วหมีน้อยจะหา
หมีน้อยนับ "1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 เอาแล้วนะ"
หมีน้อยเดินหาเพื่อนๆ หมีน้อยเห็นกระต่ายซ่อนอยู่ในพุ่มไม้ "โป้งกระต่าย"
หมีน้อยเดินหาเพื่อนๆต่อไป เห็นแมวซ่อนอยู่บนต้นไม้ "โป้งแมว"
หมีน้อยเดินต่อไป เห็นหมีน้อยและหนูซ่อนอยู่ข้างต้นไม้ "โป้งหมูน้อยกับหนู"
กระต่ายโดนโป้งก่อนครั้งต่อไปกระต่ายต้องเป็นคนหา
กระต่ายเริ่มนับ "1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 เอาแล้วนะ"
กระต่ายเริ่มเดินหาเพื่อนๆ จนครบ
จากนั้นหมีน้อยก็ชวนเพื่อนๆไปทำอาหารที่บ้านของหมีน้อย
หมีน้อยและเพื่อนๆช่วยกันทำอาหารและกินอาหารพร้อมกัน
เมื่อกินอาหารเสร็จ หมีน้อยและเพื่อนๆชวนกันร้องเพลงและเล่นเกม
หมีน้อยและเพื่อนๆช่วยกันร้องเพลงและเล่นเกม ใครทำ
1 2 3 ปลาฉลามขื้นบก
4 5 6 จิ้งจกออกไข่
7 8 9 แมวน่ารักจัง
10 ตกบันไดเพราะ_ _(หมีน้อย,กระต่าย,หมูน้อย,แมว,หนู)เป็นคนทำ
เมื่อเล่นจนเหนื่อยหมีน้อยและเพื่อนๆก็เผลอหลับไป
(แต่งเองค่ะ อิ อิ)

การสอนทำสื่ออิเล็กโทรนิกส์

วันนี้มีเรียนการสอนเพิ่มเติม โดยที่วันนี้จะมีการสอนทำภาพกราฟฟิก โปรแกรม authorware 7.0 part 1โดยมีวิทยากรสอนให้ทำโปรแกรมกราฟฟิกภาพและเสียงเพื่อเป็นสื่อการสอนสำหรับเด็ก วิทยกรได้สอนวิธีการทำทุกขั้นตอนและให้ทุกคนทำไปพร้อมๆกัน จากนั้นได้มีการแบ่งกลุ่มนักศึกษาโดยการที่ให้แบ่งกลุ่มละ3 คน แต่ละกลุ่มได้รับมอบหมายให้ทำกลุ่มละ2เรื่องกลุ่มของดิฉันได้เรื่องส่วนต่าง ๆของร่างกาย และเรื่องที่2ทุกกลุ่มจะได้เหมือนกันคื่อให้ทำข้อสอบ วิทยากรก็ได้ให้ตั้งคำถามเองโดยจะมีรูปมาให้หลังจากนั้นก็ได้ให้อัดเสียง เพื่อที่จะได้สื่อที่ได้ทั้งภาพและเสียง หลังจากนั้นอาจารย์ก็ได้ให้แต่ละกลุ่มออกมาเสนอผลงาน โดยอาจารย์ก็ได้มีการให้ข้อแนะนำและสิ่งที่ต้องแก้ไข จากนั้นอาจารย์ก็ให้ส่งเมลไปให้อาจารย์

สรุปการเรียนสัปดาห์ที่ 9

วันนี้อาจารย์อธิบายวิธีการสอนของแต่ละวันสอนในหน่วยเสริมประสบการณ์ ว่าต้องมีอะไรบ้าง จะสอนเด็กในแต่ละหน่วยของแต่ละกลุ่ม การสอนของแต่ละคนอาจไม่เหมือนกัน เด็กได้สาระอะไรในการสอนบ้าง การสอนแบบใช้คำถามปลายเปิด ในการสอนควรมี การเตรียมความพร้อม วางแบบแผน เตรียมอุปกรณ์ในการสอนให้เหมาะสม

สรุปการเรียนสัปดาห์ที่ 8

วันนี้ส่งเกม แต่อาจารย์ให้เอาไปแก้บ้างส่วนค่ะแล้วให้เพื่อนที่ยังไม่ได้ส่งงานอาจารย์ให้ทำส่งอาจารย์ด้วย

สรุปการเรียนสัปดาห์ที่ 6

วันนี้อาจารย์ให้เขียนแผนการสอนหน่วยของแต่ละกลุ่มใส่ใน MindMap ส่งทางเมล์ มี ลักษณะสี รูปร่าง รูปทรง ผิวสัมผัส ส่วนประกอบ รสชาติ ประโยชน์ โทษ การเก็บรักษาส่งเมล์ให้อาจารย์จ๋า คราวหน้าให็นำเกมมาส่งด้วย

สรุปการเรียนสัปดาห์ที่ 4

วันนี้อาจารย์สอนเกี่ยวกับลักษณะหลักสูตรที่ดี คือ
1.เน้นกระบวนการคิดและการพัฒนาความคิดรวบยอด
2.เน้นการเรียนรู้ภาษาและการใช้ภาษาพูดที่สัมพันธ์เกี่ยวกัยกิจกรมมในชีวิตประจำวันไม่ใช่การท่อง
3.แนะนำคำศัพท์ใหม่ๆและลักษณะอย่างค่อยเป็นค่อยไป
4.สร้างเสริมให้เด็กเกิดความเชื่อมั่นและค้นคว้าข้อมูลเพื่ออให้ได้คำตอบ
5.ส่งเสริมให้เด้กเกิดการรับรู้สามารถบรรยายและค้นคว้าเพิ่มเติม
6.เน้นให้เด็กเกิดความคิดรวบยอดมีทักษะคณิตศาสตร์ไปพร้อมๆกัน
7.เปิดให้เด้กได้ค้นคว้าสำรวจ ปฎิบัติรู้จักตัดสินใจด้วยตนเอง

สรุปการเรียนสัปดาห์ที่ 3

วันนี้อาจารย์สอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยว่า เป็นของใกล้ตัว เป็นเรื่องง่ายๆ ซึ่งเด็กสามารถเรียนรู้เป็นกระบวนการได้โดยที่บุรณาการผ่านเรื่องใกล้ตัวต่างๆเช่น การตวง การนับหรือแม้แต่การวัด เป็นต้น คณิตศาสตร์ไม่ได้แต่เป็นการที่จะให้เด็กบวกเลขเพียงอย่างเดียวแต่จะให้เด็กสามมารถเปรีบยเทียบ และรู้จักขนาด และสี เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งของใกล้ตัว ที่เด็กพบเห็นได้ในชีวิตประจำวันและสามารถนำไปต่อยอดในการเรียนต่อไป

สรุปการเรียนสัปดาห์ที่ 2

วันนี้เรียนเป็นวันที่ 2 ของเทอมนี้ ในวิชา คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย อาจารย์ จ๋า บอกให้หาเพลง หรือแต่งเพลง แต่งนิทาน แล้วให้นำไปลงบล็อกและทำบล็อกเพิ่มเติม

สรุปการเรียนสัปดาห์ที่1

วันนี้ได้ทำบล็อกเป็นครั้งที่ 2 ค่ะ เกือบจำรหัสผ่านไม่ได้แน่ะ นานเหลือเกิน อาจาย์ให้หาเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ตอนแรกคิดว่าอาจารย์จะให้ทำในhi5 แต่มีเพื่อนบอกข้อดีของบล็อก ก็เลยได้ทำในบล็อกค่ะ ทำไปทำมาเกิดอาการงงนิดหน่อยแต่ก็สนุกดีค่ะ

วันพฤหัสบดีที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

วันพุธที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2552

สรุปการเรียนสัปดาห์ที่5

ครูปฐมวัยที่ดีนอกจากจะเข้าใจพัฒนาการเด็ก ธรรมชาติของการเรียนรู้ของเด็ก และขอบข่ายของหลักสูตร หลักการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ได้แก่.....
1.สอนสอดคล้องกับชีวิตประจำวัน
2.เปิดโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ที่ทำให้ พบคำตอบด้วยตัวเอง
3.มีเป้าหมายและการวางแผนที่ดี
4.เอาใจไส่ในเรื่องการเรียนรู้และลำดับขั้นตอนของพัฒนาความคิดรวบยอดของเด็ก (ให้ได้ปฎิบัติของจริง)
5.ใช้วิธีการจดบันทึกฟฤติกรรมหรือระเบียบฟฤติกรรมเพื่อใช้ในการวางแผนและจัดกิจกรรม
6.ใช้ประโยชน์จากประสบการณ์เดิมของเด็ก
7.รู้จักใช้สถานการณ์ขณะนั้นให้เป็นประโยชน์
8.ใช้วิธีการสอดแทรกกับชีวิตจริง เพื่อสอนความคิดรวบยอดยากๆ
9.ใช้วิธีให้เด็กมีส่วนร่วมหรือปฎิบัติการจริง
10.วางแผนส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้ทั้งที่โรงเรียนและที่บ้านอย่างต่อเนื่อง
11.บันทึกปัญหาการเรียนรู้ของเด็กอย่างสมำเสมอเพื่อแก้ไขปรับปรุง
12.ในคาบหนึ่งเพียงความคิดรวบยอดเดียว
13.เน้นกระบวนการเล่นจากง่ายไปยาก
14.ครูควรสอนสัญลักษณ์ตัวเลขหรือเครื่องหมายเพื่อให้เด็เข้าใจสิ่งเหล่านั้น

การเตรียมความพร้อมเด็กให้เก่งคณิตศาสตร์จะต้องฝึกให้เด็กได้มีพัฒนาการของด้านสายตาก่อนอันดับแรก ถ้าหากเด็กไม่สามารถใช้สายตาในการจำแนก เด็กก็จะมีปัญหาด้านการเรียนรู้กับคณิตศาสตร์ได้

บทความคณิตคิดสนุก เริ่มที่บ้าน

คณิตศาสตร์ซ่อนอยู่ในหลายๆ ที่ ในชีวิตประจำวันของเรา เช่น หนังสือพิมพ์ ในห้องครัว ในสวน สนามเด็กเล่น เป็นต้น เมื่อผู้ปกครองพบเห็นอะไร ก็สามารถเก็บประเด็นแล้วนำมาพูดคุยกับลูกหลานได้ หรือหากิจกรรมสนุกมาทำร่วมกันในครอบครัวและให้เด็กมีส่วนร่วมด้วย เช่น เล่นเกมทางคณิตศาสตร์ เข้าครัวทำอาหาร ตัวอย่างกิจกรรม เช่น ให้ผู้ปกครองและเด็กทำเยลลีด้วยกัน ซึ่งทำได้ไม่ยาก และเด็กก็จะได้เรียนรู้ทักษะการชั่ง ตวง วัด หรือชักชวนลูกหลานไปจ่ายตลาดด้วยกัน เด็กๆ ก็จะได้ฝึกวางแผนว่าจะต้องซื้ออะไรบ้าง ในปริมาณเท่าไหร่ และปริมาณเท่านี้คิดเป็นเงินจำนวนเท่าไหร่ เป็นการให้เด็กได้ฝึกคำนวณเลข นอกจากนี้เวลาที่เดินทางไปยังที่ต่างๆ ซึ่งจะพบป้ายบอกระยะทางได้ทั่วไป ก็สามารถหยิบยกเอามาเป็นโจทย์ให้เด็กฝึกคิดเลขได้ไม่ยาก เมื่อเด็กเล่นอยู่ในสวนที่มีดอกไม้ ก็อาจเรียนรู้คณิตศาสตร์จากการนับกลีบดอกไม้แต่ละชนิด เช่น ดอกเข็มที่ส่วนใหญ่มี 4 กลีบ แต่จะมีบางดอกที่มี 5 กลีบ หรือ 6 กลีบ ก็หยิบยกเอามาขบคิดเรื่องสถิติก็ได้ว่าจะมีโอกาสพบดอก 5-6 กลีบ ได้อย่างไรบ้าง หรือเมื่ออยู่สนามเด็กเล่น ก็มักพบเห็นรูปทรงเรขาคณิตได้ในเครื่องเล่นทั่วไป ก็กำหนดเป็นโจทย์ให้เด็กทำความรู้จักกับรูปทรงต่างๆ คำนวณหาพื้นที่จากรูปทรงเหล่านั้น เช่น ลูกฟุตบอล ล้อรถจักกระยาน เป็นต้น เกมสนุกๆ ที่พ่อแม่สามารถนำไปเล่นกับเด็ก เพื่อช่วยฝึกทักษะทางคณิตศาสตร์ของลูกเพิ่มเติมจากที่โรงเรียนได้ไม่ยาก เช่น เกมทายตัวเลข เกมนับตัวเลข เกมโยนเหรียญ เกมทอยลูกเต๋า ในการให้เด็กฝึกทักษะคิดเลข การเล่นเกมจะทำให้เด็กชอบได้ง่าย เพราะมีการแข่งขันเข้ามาเกี่ยวด้วย และในการเล่นเกมก็มักมีกลยุทธที่ช่วยให้ชนะได้ง่ายขึ้น ซึ่งสิ่งนี้เด็กจะยังไม่รู้ในตอนแรก และผู้ปกครองเองก็ไม่ควรบอก แต่ปล่อยให้เด็กค่อยๆ เรียนรู้ด้วยตัวเอง
การส่งเสริมทักษะคณิตศาสตร์ให้เด็กจากที่บ้าน ยังเป็นการสร้างทัศนคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์ด้วย ทำให้เห็นว่าเป็นเรื่องทั่วไปที่มีอยู่ในชีวิตประจำวัน และนำมาเล่นสนุกกันได้ ไม่ใช่เรื่องวิชาการเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ซึ่งก็จะทำให้เด็กสนใจและรู้สึกอยากเรียนคณิตศาสตร์มากขึ้น คณิตศาสตร์มีความเป็นนามธรรม มากกว่าวิชาอื่นๆ เพราะฉะนั้นคุณครู จึงควรมีทักษะที่สามารถดึงสิ่งที่ซ่อนอยู่ในคณิตศาสตร์ ออกมานำเสนอให้เด็กสนใจได้ ส่วนผู้ปกครองก็ไม่ควรปล่อยให้การเรียนการสอนเป็นหน้าที่ของโรงเรียนเพียงอย่างเดียว ควรปรับเปลี่ยนทัศนคติ ต้องไม่คิดว่าตนเองเคยเรียนมาอย่างไร ลูกก็ต้องเรียนอย่างนั้นด้วยเหมือนกัน ผู้ปกครองควรจะติดตามความก้าวหน้าของหลักสูตรเพื่อที่จะได้เสริมทักษะให้ลูกหลานได้ถูกต้อง ก็จะช่วยเพิ่มทักษะของเด็กได้มากขึ้น
นิตยาสารแม่และเด็ก